มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในผู้หญิง จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมร้อยละ 37 ของมะเร็งทั้งหมด และยังมีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งปอด ดังนั้นการดูแลตัวเองเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง และการค้นพบมะเร็งตั้งแต่ระยะเริ่มแรกในขณะที่ก้อนมีขนาดเล็ก และก้อนมะเร็งยังอยู่เฉพาะที่เต้านม ยังไม่แพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะ จะมีโอกาสหายขาดมากขึ้น เมื่อเทียบกับการตรวจพบก้อน มะเร็งที่มีขนาดใหญ่ หรือกระจายไปต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แล้ว โดยหากมีการตรวจพบมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น มีโอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปีถึงร้อยละ 98 ถ้าตรวจเจอ ตอนก้อนมะเร็งกระจายไปที่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้แล้ว มีโอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปีร้อยละ 84 และถ้าตรวจเจอ ตอนมะเร็งแพร่กระจายไปแล้ว โอกาสที่จะมีชีวิตเกิน 5 ปี มีเพียงร้อยละ 23 และยังไม่แพร่กระจายจะทำให้มีโอกาศรอดชีวิตสูง ก้อนขนาดเล็กก่อนที่จะรู้เรื่องมะเร็งท่านต้องทราบปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งขึ้นกับ- อายุ
- พันธุกรรม ประวัติการเกิดมะเร็งในครอบครัว และการเกิดมะเร็งเต้านมของตัวเอง
- ปัจจัยของฮอร์โมน เช่นอายุเริ่มต้นของการมีประจำเดือน อายุที่หมดประจำเดือน การมีบุตร การให้นมบุตร ประวัติการใช้ยาฮอร์โมนทดแทนในวัยทอง
- นอกจากนั้นยังมีความเสี่ยงในแงพฤติกรรมเช่น ความอ้วน การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การสูบบุหรี่ การเคยได้รับการฉายรังสี
การตรวจคัดกรองมะเร็งในระยะแรกเริ่ม
วิธีการตรวจหามะเร็งเต้านมมีอะไรบ้าง การตรวจหามะเร็งเต้านมมีหลายวิธีได้แก่- การตรวจเต้านมด้วย แมมโมแกรม ซึ่งจัดว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจคัดกรอง มะเร็งเต้านมในผู้หญิงทั่วไป
- การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือพยาบาล
- การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง
อาการของมะเร็งเต้านม
ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมมักจะไม่มีอาการอะไร โดยมากมักจะรู้ได้โดย- คลำได้ก้อนที่เต้านมหรือรักแร้
- มีการเปลี่ยนแปลงขนาดของเต้านม
- มีน้ำไหลออกจากหัวนม
- เจ็บ หรือหัวนมถูกดึงรั้ง
- ผิวเต้านมจะเหมือนเปลือกส้ม
- ปวดกระดูก
- น้ำหนักลด
- แผลที่ผิวหนัง
- แขนบวม
การตรวจหลังจากทราบว่าเป็นมะเร็ง
การตรวจหลังจากทราบผลชิ้นเนื้อว่าเป็นมะเร็งเต้านมจะเป็นการตรวจเพื่อประเมินว่ามะเร็งเต้านมอยู่ในระยะไหน มีการแพร่กระจายหรือยัง มะเร็งมีการตอบสนองต่อฮอร์โมนหรือไม่ การตรวจเหล่านี้มีความสำคัญในการวางแผนการรักษา
การตรวจพิเศษหลังจากทราบว่าเป็นมะเร็งเต้านม
หลังจากทราบผลชิ้นเนื้อแล้วว่าเป็นมะเร็งเต้านม แพทย์อาจจะสั่งตรวจเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปหรือยัง การพิจารณาส่งตรวจขึ้นกับดุลยพินิจขงแพทย์ว่าจะตรวจมากน้อยแค่ไหน- X-RAY ปอดผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง จะต้องฉายรังสีที่ปอดเพื่อดูว่ามะเร็งได้มีการแพร่กระจายมาหรือยัง
- Bone Scan การตรวจนี้จะตรวจว่ามะเร็งเต้ารมแพร่ไปกระดูกหรือยัง จะตรวจในผู้ป่วยที่คิดว่ามะเร็งแพร่กระจายแล้ว
- CT การตรวจcomputer scan จะไม่ทำในผู้ป่วยที่เริ่มเป็นมักจะตรวจในผู้ป่วยที่เป็นมากและสงสัยว่ามีการแพร่กระจาย หากมีอาการที่อวัยวะใดก็จะสั่งตรวจอวัยวะนั้น
- MRI เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กจะมีประโยชน์มากในการตรวจสมองและ
- PET(positron emission tomography) การตรวจนี้ใช้น้ำตาลที่อาบรังสี เมื่อฉีดเข้าร่างกาย เซลล์มะเร็งจะนำน้ำตาลนั้นไปใช้เมื่อเราถ่ายภาพด้วยกล้องพิเศษทำให้เราทราบว่ามะเร็งแพร่ไปที่ไหนบ้าง
- การตรวจเลือดเพื่อประเมินความแข็งแรงหรือตรวจหาว่ามะเร็งแพร่กระจายไปหรือยัง
- CBC คือการตรวจหาความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด และเป็นค่ามาตรฐานเพื่อจำเป็นต้องให้เคมีบำบัด
- การตรวจสารเคมีในเลือดเช่น การทำงานของตับ เพื่อตรวจว่ามะเร็งมีการแพร่กระจายหรือไม่
- Tumor test ปกติเซลล์เต้านมจะตอบสนองต่อฮอร์โมน 2 ชนิดคือ estrogen,และ progesteron การตรวจหาreceptor บนเซลล์มะเร็งเต้านมจะช่วยเราในการวางแผนการรักษา หากเซลล์มะเร็งมี receptor ต่อฮอร์โมน การให้ยาซึ่งกั้นการทำงานของฮอร์โมนจะยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็ง
ระยะของมะเร็งเต้านม
การประเมินระยะของมะเร็งเต้านมหมายถึงการประเมินว่าโรคมะเร็งมีการลุกลาม หรือมีแน้วโน้มที่จะลุกลามเร็วหรือไม่ การประเมินจะช่วยในการวางแผนการรักษา วิธีการประเมินมีด้วยกันสองวิธี
ขนาดของก้อนมะเร็ง หากท่านคลำได้ก้อนที่เต้านม ลองเปรียบเทียบขนาดกับรูป
การแบ่งความรุฯแรงของมะเร็งเต้านม
การแบ่งความรุนแรงของมะเร็งเต้านมก็เพื่อบอกว่ามะเร็งแพร่กระจายหรือยัง เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการรักษา ระบบที่นิยมได้แก่ระบบ TMN ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
T หมายถึงขนาดของก้อน
- Tis หมายถึงมะเร็งซึ่งอยู่เฉพาะที่ไม่แพร่กระจาย
- T1 หมายถึงขนาดของเนื้องอกไม่เกิน 2 ซม
- T2 ขนาดของเนื้องอก2-5 ซม
- T3 ขนาดเนื้องอกมากกว่า 5 ซม
- T4 เนื้องอกได้กระจายไปยังผิวหนัง
N หมายถึงเนื้อมะเร็งแพร่กระจายมายังต่อมน้ำเหลือง
- N0 มะเร็งยังไม่แพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง
- N1มะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง1-3ก้อน
- N2 มะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง4-9ก้อน
- N3 มะเร็งแพร่กระจายมากกว่า 10 ก้อนหรือแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณอื่น
M หมายถึงมะเร็งมะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นหรือไม่
- M0 มะเร็งยังไม่มีการแพร่กระจาย
- M1 มะเร็งมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น
นอกจากนั้นการแบ่งระยะของมะเร็งยังระยะดังนี้
Stage 0
หมายถึงมะเร็งที่อยู่เฉพาะที่ไม่แพร่กระจายมีสองชนิดคือ- Ductal carcinoma insitu เป็นมะเร็งที่เกิดที่ท่อน้ำนม ไม่แพร่กระจาย แต่ก็มีบางรายที่มะเร็งแพร่กระจาย
- Lobular carcinoma insitu หมายถึงเซลล์มะเร็งเกิดที่ต่อมน้ำนม มักจะไม่แพร่กระจาย
Stage1
ก้อนมะเร็งจะมีขนาดน้อยกว่า2 ซม และไม่มีการแพร่กระจาย
Stage2A
มีด้วยกัน 3 ภาวะได้แก่- ไม่มีก้อนที่เต้านม แต่พบมะเร็งที่ต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้
- ก้อนมีขนาดน้อยกว่า 2 ซมและมีการแพร่ไปยังต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้
- ก้อนมีขนาด2-5 ซม แต่ไม่มีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง
Stage2B
- ก้อนมีขนาด 2-5 ซมและมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้
- ก้อนใหญ่กว่า 5 ซมแต่ไม่มีการแพร่กระจาย
Stage3A
- ไม่มีก้อนที่เต้านม แต่มีมะเร็งที่ต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้
- เนื้องอกมีขนาดเล็กกว่า 5 ซมและมีการแพร่ไปยังต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ที่อยู่ใกล้
- เนื้องอกมีขนาดใหญ่กว่า 5 ซมและแพร่ไปยังต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ที่อยู่ใกล้
Stage3B
ก้อนมะเร็งมีขนาดเท่าไรก็ได้- เนื้องอกมีการแพร่ไปยังอวัยวะใกล้เคียง เช่นกล้ามเนื้อหรือผิวหนัง
- มะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง
Stage3C
- มะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองที่คอ
- มะเร็งแพร่ไปยังเนื้อเยื่อใกล้เคีง หรือต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้
Stage4
มะเร็งแพร่ไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ สมอง กระดูกการรักษามะเร็งเต้านม
การรักษาโรคมะเร็งเต้านม จะต้องได้ประเมินระยะของผู้ป่วยแล้ว จึงวางแผนการรักษา โดยทั่วไปการรักษามะเร็งเต้านมมีด้วยกันดังนี้- การรักษาโดยการผ่าตัด
- การรักษาโดยการให้เคมีบำบัด
- การรักษาโดยการฉายรังสี
- การให้ฮอร์โมน
ประโยชน์ของการคัดกรองมะเร็งเต้านม
ข้อดี- เป็นการค้นหามะเร็งในระยะแรกเริ่ม
- ช่วยให้ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปีมีโอกาศรอดชีวิตเพิ่มขึ้น
- การคัดกรองมะเร็งเต้านมในระยะแรกเริ่มจะเพิ่มโอกาศในการค้นหามะเร็งในระยะแรกเริ่มชนิดอื่น
- ระหว่างการตรวจ mamogram จะทำให้เกิดความไม่สะดวกแก่ผู้ป่วย
- การตรวจ mamogram เป็นการตรวจด้วยรังสี x-ray ซึ่งในการตรวจแต่ละครั้งปริมาณรังสีที่ได้รับไม่มาก แต่หากต้องการตรวจให้ภาพชัดก็อาจจะทำให้ได้รับรังสีมาก และในกรณีที่ตรวจตั้งแต่อายุน้อยก็อาจจะทำให้ได้รับรังสีสะสม
- การตรวจ mamogram ให้จะให้ผลผิดปกติ ทำให้ต้องตรวจซ้ำซึ่งส่วนใหญ่ไม่เป็นมะเร็งทำให้ผู้ป่วยเกิดความกังวล
- การตรวจ mamogram บางครั้งอาจจะต้องตรวจซ้ำ
- การตรวจ mamogram ไม่สามารถค้นพบมะเร็งได้ทุกชนิดโดยเฉพาะมะเร็งท่อน้ำนม และในคนที่อายุน้อยกว่า 50 ปี
- แม้ว่าจะได้มีการตรวจคัดกรองมะเร็งประจำปี แต่ก็ไม่ได้เป็นหลักประกันว่ามะเร็งจะไม่เกิด
มาป้องกันมะเร็งกันเถอะ
สาเหตุของมะเร็งเต้านมยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่การปฎิบัติตัวที่ดีจะลดการเกิดมะเร็งเต้านม
รูปแสดงวิธีการตรวจเต้านมด้วยตัวเอง
อ้างอิง http://www.siamhealth.net
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น